- หมวดหมู่ประเภทกฎหมาย
- Links ศาล
หมวดหมู่ประเภทกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2545 ประนีประนอมยอมความ (มาตรา 850, 852)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2545
นางจันทร์ อดทน โจทก์
นางอำไพ ทองมี จำเลย
แพ่ง ประนีประนอมยอมความ ผลการประนีประนอมยอมความ (มาตรา 850,852)
วิธีพิจารณาความแพ่ง อำนาจฟ้อง (มาตรา 55)
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องที่ดิน นายอำเภอเรียกโจทก์และจำเลยมาเจรจากันโดยมีการบันทึกคำเปรียบเทียบไว้ว่าจำเลยตกลงแบ่งที่ดินให้แก่โจทก์ตามส่วนที่ตกลงกัน บันทึกคำเปรียบเทียบดังกล่าวมีลักษณะเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่มีอยู่แล้วในขณะนั้นให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 อันมีผลให้สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวอีก คงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรนายคุย พลหล้า ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก) เลขที่ 903, 915 และ 2246 ตำบลกู่กาสิงห์อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด หลังจากนายคุยถึงแก่ความตาย จำเลยได้ไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยเป็นบุตรนายคุย เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสามแปลงใส่ชื่อจำเลยในฐานะผู้รับมารดก โจทก์ซึ่งเป็นทายาทเพียงผู้เดียวของนายคุยได้รับความเวียหายไม่สามารถจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกได้จอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเพิกถอนการรับโอนมรดกที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่พิพาททั้งสามแปลงเดิมเป็นของนางบูดมารดาจำเลย แต่นางบูดให้นายคุยใส่ชื่อใน น.ส. 3 ก. แทน ปี 2502 นางบูดยกที่พิพาททั้งสามแปลงให้โจทก์และจำเลย โดยโจทก์ได้รับเฉพาะบางส่วนของที่ดิน น.ส. 3 ก.เลขที่ 915 ส่วนที่เหลือเป็นของจำเลย และภายหลังโจทก์ได้ขายที่ดินส่วนที่ได้รับยกให้ดังกล่าวแก่จำเลยในราคา 2,000 บาท ที่พิพาทจึงตกเป็นของจำเลยทั้งหมด จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทตลอดมา ที่จำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่านายคุยเป็นบิดาจำเลยก็เพื่อความสะดวกในการจดทะเบียนโอนที่ดิน ไม่ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์เลยแจ้งความต่อนายอำเภอเกษตรวิสัยว่าจำเลยแจ้งความเท็จ และได้มีการเจรจาตกลงกันโดยจำเลยจะยกที่พิพาทบางส่วนให้แก่โจทก์ และโจทก์จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีก แต่โจทก์ผิดสัญญาไปแจ้งความดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย จำเลยจึงไม่แบ่งแยกที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามที่เคยตกลงกัน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีขาดอายุความแล้ว ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า จำเลยใช้สิทธิไม่ถูกต้องตามกฎหมายในการโอนเปลี่ยนอปลงทางทะเยียน จึงไม่ได้สิทธิใดๆในที่พิพาท ขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนเพิถินการารับดอนมรดกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 903, 915, และ 2246 ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้ยกฟ้องแย้ง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นบุตรนายคุยกับนางบุญ พลหล้า ส่วนจำเลยเป็นบุตรนาย วัลย์ ลาวัลย์กับนางบูด พลกล้า หลังจากนางบุญและนายวัลย์ถึงแก่ความตาย นายคุยกับนางบูดได้จดทะเบียนสมรสอยู่กินเป็นสามีภริยากันต่อมาในปี 2534 นายคุยถึงแก่ความตาย ปี 2538 จำเลยไปดำเนินการใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 903, 915 และ 2246 ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โจทก์ได้ร้องเรียนต่อนายอำเภอเกษตรวิสัยกล่าวหาว่าจำเลยแจ้งความเท็จ ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวเป็นมรดกของนายคุยตกได้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง นายอำเภอเกษตรวิสัยเรียกโจทก์จำเลยมาเจรจากันและจำเลยตกลงจะแบ่งที่ดินตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 915 จำนวน 20 ไร่ เลขที่ 607 จำนวน 1 งาน ให้แก่โจทก์ โดยจะดำเนินการแบ่งให้หลังจากมีการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวแล้ว ตามบันทึกคำเปรียบเทียบดังกล่าวมีลักษณะเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจก์กับจำเลยที่มีอยู่แล้วในขณะนั้นให้เสร็จไป จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 จึงมีผลให้สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์จำเลยที่มีอยู่ต่อกันนั้นระงับสิ้นไปโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 903, 915 และ 2246 ดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 852 ปัญหาเรื่องนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยคดีไม่จำต้องวินิจฉัยวินัจฉัยฎีกาของจำเลยต่อไป”
พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายใต้บงคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4
(มงคล ทับเที่ยง - สุรพล เจียมจูไร - วิศณุ เลื่อมสำราญ)
จิตฤดี สัระเวส - ย่อ
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 108/2545 สำนักงานศาลยุติธรรม เล่มที่ 1 พ.ศ. 2545
โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษา, วิจัยกฎหมายและแนะนำผลงานของผู้เขียนข้อมูลหรือบทความนั้นๆ เพื่อให้เกิด
ความเข้าใจในกฎหมาย และมุ่งประโยชน์ ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยมิได้กระทำเพื่อหากำไรในทางการค้าแต่อย่างใดทั้งสิ้น