หมวดหมู่ประเภทกฎหมาย บทความ

โดนเรียก"ดอกเบี้ยโหด"ทำไงดี ?

                  
โดนเรียก “ดอกเบี้ยโหด” ทำไงดี ?

                    ด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่มีค่าครองชีพสูง มีราย

จ่ายมากขึ้นแต่ขณะเดียวกันรายได้กลับเท่าเดิมทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสิน

เพื่อนำมาใช้จ่ายให้เพียงพอในการดำเนินชีวิต  ครั้นจะไปกู้ธนาคารก็มีขั้น

ตอนยุ่งยาก  ดังนั้นทางเลือกของการที่จะได้เงินมาโดยไม่ต้องมีขั้นตอน

อะไรมากคือ  ยอมเป็นหนี้นอกระบบ  โดยกู้เงินมาจากนายทุนเงินกู้ที่มี

การเรียกเก็บดอกเบี้ยสูงจนชนิดเรียกได้ว่ามหาโหดเลยทีเดียว  และ

ปัญหาที่ตามมาก็คือ  การทวงเงินของบรรดาเจ้าหนี้เหล่านี้โหดพอๆกับ

การเรียกดอกเบี้ย  ทางสำนักงานเราเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญ

และปัญหาที่เกิดจากการเป็นหนี้นอกระบบมีเยอะแยะมากมาย  จึงเขียน

บทความนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ถูกนายทุนเงินกู้เอารัดเอาเปรียบมีทางที่จะ

ป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายภายใต้กรอบของกฎหมายมาฝาก

               ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าเรื่องการเรียกดอกเบี้ย

ของการกู้ยืมเงินนั้น  กฎหมายได้กำหนดอัตราสูงสุดที่สามารถเรียกเก็บ

ได้  และกำหนดโทษของผู้ที่เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้

ดังนี้

             - ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654  ที่กำหนด

ให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดของการกู้ยืมเงินที่สามารถเรียกเก็บได้ตาม

กฎหมาย ต้องไม่เกินร้อยละ  15  ต่อปี

             - กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3

กำหนดโทษของผู้ที่เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โดย

ให้จำคุกไม่เกิน  1  ปี หรือปรับไม่เกิน  1,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

แต่เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวได้ใช้มาเป็นระยะเวลานานมาก  และ

กระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องหนี้นอกระบบมี

มาตรการในการแก้ปัญหาดังกล่าว  โดยกำลังดำเนินการแก้ไขกฎหมาย

ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ในส่วนของการเพิ่มอัตราโทษ

และดำเนินการยกร่างกฎหมายการติดตามทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมเพื่อ

ป้องกันสิทธิ์ของลูกหนี้  อีกทั้งมีมาตรการที่นำหนี้นอกระบบมาเข้าอยู่ใน

ระบบด้วย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็ปไซต์กระทรวงการคลัง


http://www.mof.go.th/
)
 
             ในส่วนที่ว่าเมื่อถูกเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจะ

ทำอย่างไรได้บ้างนั้นขอแยกเป็น  2  กรณีครับ

                  
  1. เจ้าหนี้ได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแล้ว

                    2. เจ้าหนี้ได้ทวงหนี้ด้วยวิธีต่างๆ โดยยังไม่ฟ้องร้อง

ดำเนินคดี 

    
           1.เจ้าหนี้ได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแล้ว

        ในกรณีที่เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินเกินอัตราที่กฎหมาย

กำหนด ศาลจะพิจาณาในส่วนของดอกเบี้ยให้ตกเป็นโมฆะ เนื่องจากการ

เรียกดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน 

จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150  เมื่อ

ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะการชำระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยจึงไม่ต้องชำระ  จะ

ชำระก็แต่เพียงต้นเงินที่ได้กู้ยืมมา  แต่ทั้งนี้ถ้ามีการเจรจาตกลงกัน  อาจ

จะทำกันเองระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ หรือศาลอาจช่วยเจรจาไกล่เกลี่ย

ให้  หนี้ดังกล่าวอาจผ่อนผันลงมาได้ จะมากจะน้อย หรือวิธีการชำระหนี้

จะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่ามีการตกลงกันอย่างไร  แต่ท้ายที่สุดเมื่อศาล

มีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้วก็ควรที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาล 

ในเมื่อหนี้ดังกล่าวลูกหนี้ก็เป็นคนไปกู้ยืมมา  เมื่อเป็นหนี้ก็ต้องใช้หนี้  แต่

หากลูกหนี้ไม่ทำตามคำสั่งศาล  เจ้าหนี้มีสิทธิ์ที่จะบังคับคดียึดหรืออายัด

ทรัพย์สินของลูกหนี้ได้


              
2. เจ้าหนี้ทวงหนี้ด้วยวิธีต่างๆ โดยยังไม่ฟ้องร้องดำเนิน

คดี


              กรณีนี้จะมีปัญหาบ่อยมากดูได้จากข่าวที่ปรากฏในสื่อต่างๆ

เพราะบรรดาเจ้าหนี้ที่มีการเรียกดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินเกินอัตราที่

กฎหมายกำหนด  นอกจากการเรียกดอกเบี้ยผิดกฎหมายแล้ว วิธีการทวง

หนี้อาจผิดกฎหมายด้วย เช่น การทวงหนี้ด้วยวิธีข่มขู่ว่าจะทำอันตราย

ชีวิตหรือทรัพย์สิน  การทำร้ายร่างกาย  เป็นต้น  เมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้ 

วิธีที่จะช่วยป้องกันและบรรเทาความเสียหายในเบื้องต้นภายใต้กรอบของ

กฎหมายอาจทำได้ดังนี้ครับ


            2.1 ในเบื้องต้นควรหาทางเจรจากับเจ้าหนี้  เพื่อขอลดหย่อน

ผ่อนหนี้

            2.2 หากมีกรณีที่เจ้าหนี้ใช้วิธีทวงหนี้ที่บีบบังคับหรือล่วงเกิน

สิทธิ์มากเกินไป เช่น ตามทวงหนี้กับทางบ้านหรือที่ทำงานในลักษณะข่ม

ขู่จนทำให้เดือดร้อนรำคาญ  หรือถูกทำร้ายร่างกาย ก็ให้ไปดำเนินการ

แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ


            2.3 ร้องเรียน  แจ้งเบาะแส  พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ทวงหนี้ผิด

กฎหมาย ไปยัง กลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ  กระทรวงการคลัง 

ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับบรรดาหนี้นอก

ระบบ โดยสามารถแจ้งไปยังศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบสายด่วน

โทร.1359 (ต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ เว็ปไซต์ของกลุ่มป้อง

ปรามการเงินนอกระบบกระทรวงการคลัง


http://www.mof.go.th/fincrime2004/
)


              วิธีที่ได้แนะนำไปนั้นเป็นเพียงการป้องกันและบรรเทาความเสีย

หายเบื้องต้นเท่านั้น  การที่จะทำให้ปัญหาการถูกทวงหนี้ยุติลงได้ก็คือ 

การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เสีย  ส่วนจะชำระเต็มจำนวนหรือไม่ หรือจะมีวิธี

การอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณสามารถตกลงกับเจ้าหนี้ได้เป็นอย่างไร 

แต่!!!อย่าลืมนะครับหนี้ทั้งหมดที่เกิดขึ้น คุณมีส่วนที่ก่อมันขึ้นมา  เมื่อ

คุณได้ทำไปแล้วควรที่จะรับผิดชอบกับสิ่งที่คุณได้ทำไปด้วยแต่ถ้าถูกเอา

รัดเอาเปรียบก็ควรต่อสู้เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม  อย่างไรก็แล้วแต่ วิธี

ที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณไม่เป็นหนี้  วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรดานายทุนเงิน

กู้และหนี้นอกระบบหมดไปจากสังคมไทย  คือการที่ทุกคนรู้จัก “พอเพียง

ในสิ่งที่เรามีและเพียงพอกับชีวิตที่เป็นอยู่” มีน้อยใช้น้อย มีมากก็รู้จักเก็บ

ออม  เพียงเท่านี้คำว่า“เป็นหนี้”จะไม่มีในพจนานุกรมของคุณ เหมือนกับ

ประโยคที่ว่า


                     “การไม่มีหนี้       เป็นลาภอันประเสริฐ”


                                                                                                      By เต้มหาดไท

 


 


หมายเหตุ: ข้อมูลหรือบทความที่ปรากฏในเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้น
โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษา, วิจัยกฎหมายและแนะนำผลงานของผู้เขียนข้อมูลหรือบทความนั้นๆ เพื่อให้เกิด
ความเข้าใจในกฎหมาย และมุ่งประโยชน์ ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยมิได้กระทำเพื่อหากำไรในทางการค้าแต่อย่างใดทั้งสิ้น