- หมวดหมู่ประเภทกฎหมาย
- Links ศาล
หมวดหมู่ประเภทกฎหมาย ข้อมูลวิชาการ
วิเคราะห์ปัญหากรณีคดีละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่าง บริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กับ บริษัท เอเท
จากเหตุการณ์กรณีมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543 คดีระหว่างบริษัท ไมโครซอฟท์คอร์ปอเรชั่น จำกัด โจทก์ บริษัท เอเทค คอมพิวเตอร์ จำกัด กับพวกจำเลย ซึ่งศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โดยให้ยกฟ้องโจทก์ เนื่องจากศาลฎีกาเห็นว่า การแสวงหาพยานหลักฐานของโจทก์เพื่อพิสูจน์ความผิดผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของจำเลย โดยใช้วิธีการล่อซื้อตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนั้น เป็นการ "ก่อ" ให้จำเลยกระทำผิดดังกล่าวขึ้น " มิใช่เป็นการทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ " โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 ( 2) จากคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวได้นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ระบบศาลยุติธรรมของไทยทางสื่อมวลชนเกือบทุกแขนง ทำให้เกิดประเด็นการวิพากษ์วิจารณ์ และตั้งข้อสงสัยในระบบกระบวนการยุติธรรมของไทยถึงขนาดฝ่ายผู้เสียหายคือ บริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ออกมากล่าวเชิงตำหนิ และตั้งข้อสงสัยกับกระบวนการยุติธรรมของไทยว่า ศาลยุติธรรมของไทยพิพากษาตามมาตรฐานของสากลหรือไม่นั้น กรณีดังกล่าวก่อให้เกิดความสนใจและถกเถียงในหมู่ประชาชน และวงการนักกฎหมายไทยเป็นอย่างสูง
จากเหตุการณ์ดังกล่าว มีนักกฎหมายระดับสูงหลายท่านให้ความสนใจ และทำบันทึกหมายเหตุวิเคราะห์คำพิพากษา ศาลฎีกาดังกล่าวอย่างน้อยสองท่าน โดยได้วิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกามุ่งเน้นถึงประเด็นการเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยการล่อซื้อโดย เทียบเคียงกับการล่อให้กระทำความผิดตามหลักกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งประเด็นการแสวงหาพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย และการรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีดังกล่าว
- รายงานทางวิชาการฉบับนี้ จึงขอวิเคราะห์ปัญหากรณีดังกล่าว โดยมุ่งเน้นถึง
- ความหมายของผู้เสียหายโดยเฉพาะการเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
- การมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดของผู้เสียหาย
- ความหมายของการล่อซื้อที่เทียบเคียงกับการล่อให้กระทำความผิด
- การเปรียบเทียบการล่อให้กระทำความผิดกับคดีอาญาอื่น ๆ
- ตลอดถึงปัญหาการแสวงหาพยานหลักฐานโดยการล่อซื้อ ลักษณะการแสวงหาพยาน
หลักฐาน ผลกระทบทางกฎหมายในการรับฟังพยานหลักฐาน
- บทสรุปและข้อเสนอแนะพร้อมแนวทางการแก้ปัญหา
ผู้ทำรายงานฉบับนี้ขอชี้แจงว่า จะนำเสนอคำอธิบายหลักกฎหมายต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น พร้อมกับวิเคราะห์ประเด็น ปัญหากรณีคดีละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งประเด็นข้อกฎหมายที่ปรากฏเป็นประเด็นสำคัญในคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น หลักกฎหมายที่ศาลฎีกา ใช้เป็นเหตุผล ของการมีคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว และเพิ่มเติมข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศ สหรัฐอเมริกา รวมถึงการแสดงรายละเอียดของหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับการเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย, การล่อให้กระทำความผิด,การแสวงหาพยานหลักฐาน, ผลกระทบทางกฎหมายในการรับฟังพยานหลักฐาน และแนวทางในการแก้ปัญหา ดังที่จะปรากฏในรายงานฉบับนี้ต่อไป และหวังว่ารายงานนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะนำปรากฏการณ์ในสังคมที่ก่อให้เกิด ประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว มาเป็นประโยชน์ทำให้นักกฎหมายและผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้มีพื้นฐานทางหลักกฎหมายข้างต้นเพื่อ สร้างความเข้าใจ บนหลักเกณฑ์ของกฎหมาย และบนพื้นฐานการเคารพต่อความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ด้วยความเข้าใจที่ดี จึงจัดทำรายงานวิชาการนี้ขึ้นด้วยจุดประสงค์ดังกล่าว.
******* สนใจ Download ฟรี ได้ที่นี่ *******
โดย คุณศิริพงศ์ กิติวงศ์ไพศาล
โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษา, วิจัยกฎหมายและแนะนำผลงานของผู้เขียนข้อมูลหรือบทความนั้นๆ เพื่อให้เกิด
ความเข้าใจในกฎหมาย และมุ่งประโยชน์ ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยมิได้กระทำเพื่อหากำไรในทางการค้าแต่อย่างใดทั้งสิ้น