ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ ต้องถูกยกเลิกไปใช่หรือไม่ อย่างไร
เรียน ถามทุกท่านที่รู้
ผมฟ้องคดีหน่วยงานที่ศาลปกครอง ตั่งแต่ ปี 2544
ฟ้อง 3 ประเด็น 1.ลดโทษ 2.เลื่อนขั้นเงินเดือน 3.เลื่อนระดับ
ปลาย เดือน มิ.ย. 2555 ที่เพิ่งผ่านมา (รวมระยะเวลาพิจารณาดคีทิ้งสิ้น ประมาณ 11 ปี) ศาลปกครองสูงสุดตัดสินผมแพ้ ทั้ง 3 ประเด็น อย่างน่ากังขา
ประเด็นต่อสู้ที่สำคัญ คือ การละทิ้งหน้าที่ราชการ หน่วยงานกล่าวหาว่าผมละทิ้งหน้าที่ราชการ
ซึ่ง เมื่อปลายปี 2542 ผมโทรไปถามสำนักนายก สำนักนายกบอกว่าลักษณะนี้ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการ เพราะคนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร ฑัณฑ์ต้องถูกยกเลิกไป
เรื่องเป็นดังนี้
ผมขอลาพักผ่อน ศุกร์ 24 กันยายน 2542 จันทร์ 27-พฤหัส30 กันยายน 2542 และวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2542
ใบลาพักผ่อนก่อนลา
http://uploadingit.com/file/sdzgo5szmb5okqtc/best_Page_1.jpg
(ขออภัยที่ลบข้อมูลบางอย่างในเอกสารออกไป)
ใบลาพักผ่อนหลังลา เพื่อบอกว่ามีการต่อเติมเอกสารใบลา ตรงช่วงคำสั่ง (วงรีเอาไว้) โดยต่อเติมคำว่า “ในวันที่ 24 ก.ย. 42” (ใบลาพักผ่อนก่อนลา ไม่มีช่วงคำว่า “ในวันที่ 24 ก.ย. 42”)
ใบลาพักผ่อนหลังลาไปแล้ว
http://uploadingit.com/file/kgfxthaex0n01ezi/best_Page_2.jpg
ต่อมา 4 ต.ค. 42 หน่วยงานได้บอกให้ผมลาป่วย ลาป่วยตั้งแต่วันที่ 27-30 กันยายน 2542 และวันที่ 1 ตุลาคม 2542 มีกำหนด 5 วัน เพื่อไม่ให้ผมขาดราชการ (ประวัติการรับราชการใน 5 วันถูกบันทึกว่าป่วย)
ใบลาป่วย
http://uploadingit.com/file/dgeswyudhd7b5bsl/best_Page_3.jpg
และ 8 ต.ค. 42 หน่วยงานได้ทำ ทัณฑ์บน
ตรงนี้ขอสาบานว่าเป็นความจริง คือ
ช่วงที่ถูกเรียกทำทัณฑ์บน ตัวหัวหน้าได้พูดจาทำนองว่า ถ้าไม่เซ็นต์ยอมรับ จะส่งเรื่องให้ระดับกรมดำเนินการต่อไป (ถ้าเซ็นต์ยอมรับ จะหยุดเรื่องไว้เท่านี้) ด้วยความกลัวว่า ถ้าเรื่องถูกส่งให้ระดับกรมดำเนินการต่อ จะเกิดการตั้งกรรมการสวบสวน เรื่องราวจะใหญ่โตและใช้เวลานาน ผมจึงเซ็นต์ลงไป ถ้าจุดนั้นรู้ว่า จริงๆ แล้ว ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ ก็จะไม่เซ็นต์ลงไป
ทัณฑ์บน
http://uploadingit.com/file/c78yfdybykcslies/best_Page_4.jpg
หลังจากนั้นปลายปี 42 (หลังจาก 8 ต.ค. 42 ที่หน่วยงานได้ทำ ทัณฑ์บนแล้ว )
คือ น่าจะเดือนพ.ย. 42 เป็นต้นไปถึงถึงต้นปี 2543 (ขออภัยจำวันที่ไม่ได้) ได้โทรไปถามสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ. บอกว่า สำนักงาน ก.พไม่ใช่ต้นเรื่องระเบียบการลา แนะให้โทรไปถามต้นเรื่องระเบียบการลา คือ สำนักนายก สำนักนายกบอกว่าลักษณะนี้ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการ เพราะคนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร
ซึ่งผมก็ได้ตั้งข้อ สังเกตทำบันทึกข้อความถึงความไม่ชอบมาพากลในการสอบสวนของประเด็นไม่ได้ ละทิ้งหน้าที่ราชการนี้ต่อหน่วยงาน ว่าจะต้องถูกยกเลิกไปหรือไม่ อย่างไร แต่ตอนนั้นยังคิดไม่ออกถึงการทำเรื่องให้ขอยกเลิกทัณฑ์บนต่อหน่วยงานไปเลย และเอกสารบันทึกข้อความถึงความไม่ชอบมาพากลนี้ถูกส่งให้ศาลปกครองกลาง(ศาล ปกครองชั้นต้น ไม่ใช่ศาลปกครองสูงสุด) แต่ผมไม่ได้บอกที่มาที่ไปว่า ที่ผมรู้ เพราะผมไปถามสำนักนายก อธิบายเพียงสรุปใจความว่าคนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร
ผม มาเล่าถึงที่มาที่ไปที่ว่า ที่รู้เพราะโทรไปถามสำนักนายก และสำนักนายกบอกว่า ประวัติการรับราชการใน 5 วันถูกบันทึกว่าป่วย คนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร ทัณฑ์บนจะต้องถูกยกเลิก ในเอกสารส่งให้ศาลปกครองสูงสุด
ศาลปกครองสูงสุด ตัดสินว่า
-แบบ บันทึกทัณฑ์บนผู้ฟ้องคดีได้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจ ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดบังคับขู่เข็ญ ถือ ได้ว่าผู้ฟ้องคดียอมรับว่าได้กระทำผิดจึงได้ทำทัณฑ์บนไว้ สำหรับบันทึกลาป่วยนั้นกระทำขึ้นภายหลังซึ่งเป็นคุณแก่ผู้ฟ้องคดีโดยมีผลทำ ให้ไม่ขาดราชการเท่านั้น ไม่มีผลทำให้ทัณฑ์บนใช้ไม่ได้หรือต้องเสียไปแต่อย่างใด อุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีในส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น-
(ผมมีความเห็นว่า การตัดสินของศาล ศาลยังไม่คิดไม่ถึงที่สุดของคดี การคิดที่ถึงที่สุดของคดีต้องคิดเหมือนที่สำนักนายกบอก
สำนัก นายกต้นเรื่องระเบียบการลาบอกว่า ฑัณฑ์ต้องถูกยกเลิกไป (ประวัติการรับราชการถูกบันทึกว่าป่วย คนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร)
ศาล (ศาลมิได้เป็นต้นเรื่องระเบียบการลา )ตัดสินว่าไม่มีผลทำให้ทัณฑ์บนใช้ไม่ได้หรือต้องเสียไปแต่อย่างใด
และการที่ศาลบอกว่า โดยมีผลทำให้ไม่ขาดราชการเท่านั้น การไม่ขาดราชการ ก็คือ ไม่มีการการละทิ้งหน้าที่ราชการ)
ค้นข้อมูลจากเว็บของ ก.พ.
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=23&id=2075&Itemid=228
คำถาม
ข้าราชการขาดงาน 1 วัน โดยไม่มาลงเวลา ผิดหรือไม่
คำตอบ
การ ขาดราชการโดยไม่มาลงเวลาโดยไม่มีเหตุสมควรถือเป็นการกระทำความผิดฐานละทิ้ง หน้าที่ราชการ ซึ่งจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่อยู่ที่การละทิ้งหน้าที่ราชการ ดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือไม่
จะ เห็นว่า การ ขาดราชการโดยไม่มาลงเวลาโดยไม่มีเหตุสมควรถือเป็นการกระทำความผิดฐานละทิ้ง หน้าที่ราชการ แปลตรงข้าม คือ การไม่ขาดราชการ คือ ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานละทิ้ง หน้าที่ราชการ
แต่กรณีคดีผม ศาลปกครองสูงสุด ตัดสินว่า ใบลาป่วยทำขึ้นมาภายหลัง นั้นเป็นคุณโดยมีผลทำให้ไม่ขาดราชการ
ทำไม่ศาลไม่คิดต่อว่า การไม่ขาดราขการ คือ ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานละทิ้ง หน้าที่ราชการ
(อีกตัวอย่าง จาก
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=nitikon&topic=3096
ข้อความ 4
ข้อความที่ 3 ถูกต้องครับ ละทิ้ง คือขาดราชการ
ดังนั้น ขาดราชการ คือ ละทิ้ง
ไม่ขาดราชการ คือ ไม่ละทิ้ง)
ที่ศาลบอกว่า
-แบบ บันทึกทัณฑ์บนผู้ฟ้องคดีได้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจ ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดบังคับขู่เข็ญ ถือได้ว่าผู้ฟ้องคดียอมรับว่าได้กระทำผิดจึงได้ทำทัณฑ์บนไว้-
ตรงนี้ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในเอกสารในช่วงพิจารณาทั้งในศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุดเลย แต่กลับมีอยู่ในคำตัดสินเลย
ศาลปกครองสูงสุด จึงเปิดประเด็นขึ้นมาใหม่ โดยไม่ให้ผมแก้ต่างเลย เพราะตามที่ผมบอกไปแล้ว
(ตรงประเด็นเปิดประเด็นขึ้นมาใหม่ นี้ จะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมจะให้ศาลพิจารณาใหม่)
ข้อเท็จจริงคือ
ช่วง ที่ถูกเรียกทำทัณฑ์บน ตัวหัวหน้าได้พูดจาทำนองว่า ถ้าไม่เซ็นต์ไม่เซ็นต์ยอมรับ จะส่งเรื่องให้ระดับกรมดำเนินการต่อไป (ถ้าเซ็นต์ยอมรับ จะหยุดเรื่องไว้เท่านี้) ด้วยความกลัวว่า ถ้าเรื่องถูกส่งให้ระดับกรมดำเนินการต่อ จะเกิดการตั้งกรรมการสวบสวน เรื่องราวจะใหญ่โต และใช้เวลานาน ผมจึงเซ็นต์ลงไป ถ้าจุดนั้นรู้ว่าจริงๆ แล้ว ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ ก็จะไม่เซ็นต์ลงไป จะเห็นว่า ผมไม่ได้สมัครใจทำ
ถ้าศาลให้พิจารณาคดีใหม่ผมไม่แน่ใจว่า ถ้าให้ตัวหัวหน้ามาให้การที่ศาล ตัวหัวหน้าจะพูดความจริงตามที่บอกไปหรือเปล่า
ตรงนี้เป็นสิ่งที่ผมชี้แจงในเอกสารให้ศาลปกครองสูงสุด
--ใน แบบทัณฑ์บนระบุว่ากระทำผิดหยุดราชการโดยละทิ้งหน้าที่ในการส่งเอกสารงบ ประมาณในวันที่ 27 กันยายน 2542 หลังจากได้ทำทัณฑ์บน ต่อมาได้มีการให้ผู้ฟ้องคดีลาป่วยตั้งแต่วันที่ 27-30 กันยายน 2542 และวันที่ 1 ตุลาคม 2542 มีกำหนด 5 วัน ประวัติการรับราชการใน 5 วันถูกบันทึกว่าป่วย โดยเฉพาะในวันที่ 27กันยายน 2542 คนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร ทัณฑ์บนจะต้องถูกยกเลิก เมื่อทัณฑ์บนเป็นโมฆะหรือใช้ไม่ได้ ส่งผลให้การลงโทษภาคทัณฑ์กรณีละทิ้งหน้าที่ราชการในการทำเอกสารงบประมาณ ต้องถูกยกเลิกเพิกถอน และเมื่อทัณฑ์บนเป็นโมฆะส่งผลให้การประเมินไม่เลื่อนขั้นและเลื่อนระดับไม่ ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย เพราะไม่มีการละทิ้งหน้าที่ราชการในการทำเอกสารงบประมาณ ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น—
และยังอธิบายในเอกสารให้ศาลปกครองสูงสุด ว่าที่ผมรู้ ผมไม่ได้คิดได้ด้วยตนเอง แต่ช่วงปลายปี 42 ได้โทรไปถามสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ. บอกว่า สำนักงาน ก.พไม่ใช่ต้นเรื่องระเบียบการลา แนะให้โทรไปถามต้นเรื่องระเบียบการลา คือ สำนักนายก สำนักนายกบอกว่าลักษณะนี้ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการ เพราะคนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร
คำถามครับ
1. ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ ตาม ม.156 ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ หรือไม่ อย่างไร
-มาตรา 156 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ แห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ
ความ สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรค หนึ่ง ได้แก่ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัว บุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่ง เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น-
ในกรณีของผม เป็นความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ คือ คิดว่าตัวเองละทิ้งหน้าที่ ซึ่งเมื่อปลายปี 2542 ผมโทรไปถามสำนักนายก สำนักนายกบอกว่าลักษณะนี้ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการ เพราะคนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร ถ้าจุดนั้นรู้ว่าจริงๆ แล้ว ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ ก็จะไม่เซ็นต์ลงไป
อีกประเด็นที่ผมคิดว่า ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ คือ เนื้อหาในทัณฑ์บนเป็นเท็จ เพราะบอกว่าผมละทิ้งหน้าที่ราชการ แต่ผมไม่ได้ละทิ้งเพราะป่วย กรณีนี้เข้าข่ายทัณฑ์เป็นโมฆะ ตามม.156 นี้หรือไม่ อย่างไร หรือเข้าข่ายตามมาตราอื่น ๆ (มาตราไหน)
2. ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ ตาม การขมขู่ หรือไม่ อย่างไร
ผมงงตามที่ศาลตัดสินว่า ที่ศาลบอกว่า
-แบบ บันทึกทัณฑ์บนผู้ฟ้องคดีได้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจ ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดบังคับขู่เข็ญ ถือได้ว่าผู้ฟ้องคดียอมรับว่าได้กระทำผิดจึงได้ทำทัณฑ์บนไว้-
แสดงว่า ถ้ามีผู้ข่มขู่ จะเป็นโมฆะใช่หรือไม่ อย่างไร ตรงนี้ใช้ มาตราไหนของประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์
เพราะ การข่มขู่ตามที่ผมศึกษาเอาเอง ตาม มาตรา 164 ทำให้เป็นแค่โมฆียะ และถ้าทำให้เป็นแค่โมฆียะ แล้วจะทำให้เป็นโมฆะต่อได้อย่างไร
(มาตรา 164 การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
การ ข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูก ข่มขู่มีมูลต้องกลัวซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้ กระทำขึ้น)
3. การทำทัณฑ์ให้ถูกยกเลิกไป เพราะ เนื้อหาในทัณฑ์บนเป็นเท็จ (กล่าวหาว่าละทิ้งหนาที่ แต่ผมป่วยจะละทิ้งไม่ได้) โดยไม่ใช่คำว่า เป็นโมฆะ ได้หรือไม่ อย่างไร
ตอนปลายปี 42 ที่ผมโทรไปถามสำนักนายก สำนักนายกบอกว่าทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป แต่สำนักนายกไม่ได้บอกว่า ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ ผมเป็นคนใช้คำว่า ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ ผมเขียนในเอกสารให้ศาลปกครองสูงสุด โดยผมบอกศาลว่า ผมไม่ใช่นักกฎหมาย การทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป ไม่รู้จะใช่ภาษาทางกฎหมายว่าอย่าง จึงขอใช้คำว่าโมฆะ
(ประเด็นที่ผมใช้คำว่าทัณฑ์บนโมฆะ โดยที่สำนักนายก บอกว่าทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป แต่สำนักนายกไม่ได้บอกว่าทัณฑ์บนเป็นโมฆะบอกแต่ว่าทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป ผมไม่แน่ใจว่าเป็นการเชื่อมโยงผิดหรือเปล่า (ถูกยกเลิกไปเท่ากับโมฆะหรือเปล่า) อาจทำให้ศาลเกิดความเข้าใจผิดจนผมแพ้คดี
หรือ ควรเปลี่ยนเป็นว่า เนื้อหาในทัณฑ์บนเป็นเท็จ ดังนั้น ทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป ตามข้อเท็จจริงในตัวมันเอง และที่สำคัญ คือ เนื้อหาในทัณฑ์บนเป็นเท็จ (เพราะในช่วงนั้นประวัติการรับราชการคือป่วย คนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการไม่ได้) ดังนั้น ทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไปตามระเบียบการลาของสำนักนายก ไม่ใช่ถูกยกเลิกไปเพราะโมฆะ)
ข้อนี้มีความเห็นอย่างไรครับ
4. หาเอกสารจากศาลฎีกา
การให้ศาลปกครองพิจารณาใหม่ ต้องหาหลักฐานที่เด่นชัด เช่น คำตัดสินของศาลฎีกา
พอ จะมีท่านไหนทราบคำตัดสินของศาลฎีกาในอดีตที่มีลักษณะคล้ายกับกรณีของผมไหม ครับ (ประวัติการรับราชการใน 5 วันถูกบันทึกว่า คนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร ทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป)
ถ้าทราบช่วยตอบด้วย
(ผมเคยค้นคำตัดสินของศาลฎีกาทางเน็ต ยังค้นไม่เจอ)
5. ประเด็นใหม่อื่น ๆ ที่ทุกท่านเห็นว่าเป็นประเด็นในการให้ศาลพิจารณาใหม่ (อันทำให้ผมชนะคดี) ช่วยเสนอแนะด้วยครับ
เรื่องที่เล่ามายาวมากต้องขออภัยเป็นอย่างสูงด้วยครับ
ขอบคุณ
|