มาตรา 295

สำนักกฎหมาย นิติธนกิจ , 2009-01-08 11:18:46
อยากทราบว่า อาญา มาตรา 295 เป็น อาญาแผ่นดินหรือไม่ และอยากได้คำจำกัดความว่า การกระทำแค่ไหน ถึงเรียกได้ว่าเป็นการทำร้ายร่างกาย

กรณีตัวอย่าง...

นาย ก. ขับรถ ออกจากสถานที่ราชการที่นาย ก. เคยมีสภาพเป็นบุคลภายในสถานที่นั้นๆ ซึ่งได้พ้นสภาพด้วยการลาออกไปแ้ล้ว และได้เข้าไปในสถานที่ราชการนั้น เพื่อพบปะกับเพื่อนที่รู้จัก โดยเข้าไปในเวลากลางวัน และไม่ถูกกีดกันจากยามรักษาความปลอดภัย แต่ในขณะที่ขับรถออกจากสถานที่นั้น ในยามวิกาล นาย ก. ถูกกักตัวโดย ยามจำนวน 3 นาย ไม่ให้ออกภายนอกสถานที่ราชการนั้นๆ โดยที่ยามทั้งสามนาย มีอาวุธคือ กระบอง พกติดตัว จำเลยจึงเข้าใจว่าจะมาประทุษร้าย จึงได้ขับรถยนต์หลบหนีจากจุดนั้น เป็นเหตุให้หนึ่งในยามสามคนนั้น ล้มกระแทกพื้น มีรอยแผลฟกช้ำขนาด 5 คูณ 5 เซนติเมตร

จึงอยากถามว่า กรณีแบบนี้ จำเลยมีความผิดตามมาตรา 33 ฐานบุกรุกสถานที่ กับมาตรา 295 ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น หรือไม่ อย่างไร

แล้วก็อยากรู้ว่า ขอบเขตของคำว่า ทำร้ายร่างกาย คือแค่ไหน อย่างไร


 

หก , 2010-08-25 10:20:48


 

อาร์ท , 2010-09-24 04:48:59

จากข้อเท็กจริงนาย ก. เคยเป็นผู้ที่ทำงานในสถานที่ราชการแห่งนั้นมาก่อน ต่อมาภายหลังได้ลาออกไป และวันหนึ่งได้มาพบเพื่อนเก่าที่รู้จักกันโดยไม่ได้รับการห้ามหรือกีดกันไม่ให้เข้าไปจากยาม การที่ยามมิได้ทำการกีดกันหรือห้ามมิให้นาย ก. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในขณะนั้นไม่ให้เข้าไปในภายในอาคารนั้นถือได้ว่าเป็นการอนุญาติไปโดยปริยายแล้วว่านาย ก. สามารถเข้าไปในสถานที่แห่งนี้ได้เพราะยามคือบุคคลผู้ทีสิทธิที่จะห้ามแต่กลับมิได้ห้ามหรือกระทำการอันใดที่นาย ก. จะควรรู้ได้เลยว่าตนไม่มีสิทธิจะเข้าไป ดังนี้จึงถือได้ว่านาย ก. เข้าไปในสถานที่ราชการโดยมีเหตุอันสมควรแล้วจึงมิต้องด้วย ป.อ. ม. 364 แต่อย่างใด นาย ก.จึงหามีความผิดฐานบุกรุกแต่อย่างใดไม่ ปล...มาตรา 33 ไม่ใช่ความผิดฐานบุกรุกนะครับไปเอามาจากไหน

       ปรากฏข้อเท็จจริงต่อมาว่า ขณะที่นาย ก. กำลังจะขับรถกลับนั้นเองกับถูกยามทั้ง 3 คนกักตัวเอาไว้ และนาย ก. ก็เข้าใจว่ายามจะเข้ามาประทุษร้ายตนจึงได้ทำการขับรถหลบหนีออกไป การที่ยามคนหนึ่งล้มลงกะแทกพื้นก็ด้วยการถูกรถของนาย ก. เฉี่ยวหรือชน แม้นาย ก. จะมิได้ประสงค์ต่อผลที่เกิดขึ้นแต่นาย ก. ก็ย่อมเล็งเห็นผลในขณะที่กระทำได้ว่าอาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้นการที่ยามล้มลงกระแทกพื้นนั้นจึงเป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำของนาย ก. ๆ จึงหาพ้นจากความรับผิดนี้ไม่ นาย ก. จึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ. ม. 295 และ ยามสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ตาม ป.พ.พ. ม. 420 ตามมูลละเมิดได้อีกด้วย

    ส่วนขอบเขตของการทำร้ายร่างกายนั้น ทำใหเกิดภัยแก่อวัยวะต่าง ๆ ตั้งแต่หัวจนถึงเท้า ไม่จำเป็นต้องเลือดไหล แค่ช้ำในโดยไม่มีแผลภายนอก ก็เข้าทำร้ายร่างกายได้แล้วครับ
 


 

อาร์ท , 2010-09-25 12:40:08

ขอแก้ไขนะครับ เพราะใช้มาตรา 295 ไม่ได้เพราะนาย ก. มิได้มีเจตนาที่จะทำให้ยามคนนั้นล้มลงหรือได้รับบาดเจ็แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงนี้ต้องเปลี่ยนไปปรับใช้มาตรา 390 แทนครับเพราะเป็นการกระทำโดยประมาทของนาย ก. และเการกระทำนั้นป็นเหตุให้ยามคนนั้นได้รับอันตรายแก่กายครับ ... ขอบคุณครับ


 

ธนภัทร , 2010-11-01 12:53:35

มาตรา 390 ,59 วรรค 4 
***ไม่น่าจะมีความผิดฐานบุกรุกน่ะครับ และไม่เกี่ยวกับว่าจะเข้ากลางวันกลางคืน
หากกรณีที่เกิดขึ้น ยามละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ถือว่ายามอนุญาตให้เข้า โดยปริยาย(หากว่านาย ก.เข้าไปทำความเสียหาย ยามจะมีความผิดฐานละเมิดด้วย)
มีความผิดตามมาตรา 390 ประกอบกับมาตรา 59 วรรค4 และผู้เสียหายสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้ครับ.....

ปล.ตอนนี้ผมเป็นแค่นักศึกษา นิติราม ภาคพิเศษ ปี 53 ครับ เพิ่งเรียนได้ไม่กี่เดือนเองครับ
หากท่านผู้เป็นปราชญ์ทางนิติศาสตร์ ได้ตรวจคำแนะนำหรือคำอธิบายของผมจากกรณีที่เกิดขึ้น และพบว่ามีข้อบกพร่องหรือผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยไว้ใน ณ ที่นี้ด้วย

**รบกวนติชมด้วยครับ***

ขอบคุณครับ
 

เอ , 2011-08-23 08:53:42

เราโดนข้อหาชิงทรัพย์แต่เราเปล่าทำแต่เราแค่ไปตีเขา แล้วเขายิงเรากลับแต่เขาไม่เป็นอะไรเราเจ็บปางตายเขาหาว่าเราชิงทรัพย์แล้วตำรวจเอาเรื่องส่งไปที่ศาลเราควรทำอย่างไร
 

all , 2012-09-11 10:04:37

แล้วถ้าโดนรุมล็อกตัวใว้แล้วต่อยทำร้ายร่างกายมีความผิดหรือไม่อยู่มาตราการใดคือว่า3รุม1นะคะ



รายละเีอียด:
ชื่อ:
หมายเหตุ: ข้อมูลหรือบทความที่ปรากฏในเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้น
โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษา, วิจัยกฎหมายและแนะนำผลงานของผู้เขียนข้อมูลหรือบทความนั้นๆ เพื่อให้เกิด
ความเข้าใจในกฎหมาย และมุ่งประโยชน์ ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยมิได้กระทำเพื่อหากำไรในทางการค้าแต่อย่างใดทั้งสิ้น