- หมวดหมู่ประเภทกฎหมาย
- Links ศาล
นิติธนกิจ , 2010-04-29 10:27:59 |
ตอบ คุณมิก |
GRACE & GAL , 2010-07-16 10:47:47 |
สวัสดีค่ะ คุณทนายที่นับถือ ดิฉันเป็นนายจ้างคนหนึ่ง ซึ่งถามว่าเป็นนายจ้างที่เอาเปรียบลูกจ้างหรือไม่ อยากให้คุณทนายลองพิจารณาให้ทราบด้วยน่ะค่ะ คือว่าดิฉันมีลูกจ้างคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อประมาณ ปี 2552ได้สมัครเข้ามาทำงานกับดิฉัน และได้ตกลงทำสัญญาในการทำงาน 2 ปี ถ้าทำงานไม่ครบตามสัญญา จะต้องถูกปรับเป็นเงินจำนวน 50000 บาท (เนื่องด้วยร้านของดิฉันเป็นร้านตกแต่งเสริมความงามเกี่ยวกับเล็บมือ-เท้า ซึ่งเป็นวิชาชีพที่จะนำติดตัวไปได้ตลอดชีวิต การทำสัญญานี้จะทำเฉพาะลูกจ้างที่ไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการตกแต่งต่อเติมเล็บมาก่อนเท่านั้น เพราะทางร้านมีการฝึกอบรมให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นซึ่งมีมูลค่ารวมเบ็ดเสร็จแล้วประมาณ150000 บาท แต่ต้องทำสัญญาการทำงานกับทางร้าน 2 ปี) ต่อมาลูกจ้างคนนี้ก็ลาออกไปเพราะทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน แต่มาอ้างเหตุผลในการลาออกว่า ไม่มีคนเลี้ยงลูก ดิฉันก็ยอมให้ลาออกไป ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นดิฉันมีลูกจ้างเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น และเป็นช่วงที่ทางร้านก็มีลูกค้าค่อนข้าง ๆ จะเยอะมาก อ๋อ...สำหรับลูกจ้างคนนี้ ถ้าวันไหนที่เธอไม่อยากจะทำงาน เธอก็จะอ้างเหตุว่าป่วย ซึ่งดิฉันก็ให้ลาป่วย แต่พอวันต่อมาเธอก็จะหยุดต่อไป โดยไม่มีการแจ้งให้ทางร้านทราบเป็นประจำ ซึ่งบางครั้งดิฉันก็รู้สึกเหนื่อยหน่ายกับพฤติกรรมของเธอเหมือนกัน แต่ก็ยังให้โอกาสเธอว่าตลอด ไม่เคยคิดจะไล่ลูกจ้างออกทั้ง ๆที่บางช่วงทางร้านก็มีพนักงานค่อนข้างเยอะ แต่พอทางร้านไม่มีพนักงาน เธอนึกอยากจะออก เธอก็ไปในทันที โดยไม่คิดถึงทางร้านเลย ลูกจ้างคนนี้ลาออกไปได้ประมาณ 5-6 เดือน เธอก็โทรศัพท์มาหาดิฉันเพื่อจะขอเข้ามาทำงานอีก สามีดิฉันก็ไม่อยากให้รับไว้ แต่ดิฉันก็ยังสงสารเพราะเธอไม่มีงานทำ ก็จะให้โอกาสเธออีกครั้ง เธอกลับเข้ามาทำงานได้ 1 เดือน ดิฉันก็นึกสงสารอยากจะให้ประกันสังคมของเธอดำเนินไปอย่างต่อเนี่อง หลังจากที่ถูกตัดขาดไปแล้ว 6 เดือน ดิฉันทำประกันสังคมต่อให้เธอทันที แต่การเข้ามาในครั้งนี้ยังไม่ได้มีหลักฐานการสมัครเข้าทำงานของเธอเลย แต่ตกลงกันด้วยวาจาก่อนทำสัญญาว่า กลับมาครั้งนี้ เธอก็ต้องเริ่มงานใหม่เหมือนพนักงานใหม่ ทำการทดลองงาน 3 เดือน แต่พอเข้าเดือนที่ 2 เธอก็เริ่มมีความประพฤติเหมือนเดิม คือหยุดโดยไม่ลางาน และเธอก็มาบอกดิฉันว่า เธอท้องขอลาออกจากงาน เธอออกไปทันทีดิฉันไม่ได้จ่ายค่าจ้าง ซึ่งตามสัญญาทดลองงานนั้น ถ้าลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ นายจ้างมีสิทธิที่จะไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ เธอก็ไปฟ้องประกันสังคม ประกันสังคมโทรติดต่อดิฉันมา ทำให้ดิฉันคิดว่า การเป็นนายจ้างนี้มันเสียเปรียบลูกจ้างมากเลย เพราะกฎหมายคุ้มครองแต่ลูกจ้าง ถ้าเป็นลูกจ้างที่ดี ดิฉันยินดีที่จะช่วยเหลือเขาเต็มที่ มีลูกจ้าง 2-3 คนที่ร้าน อยากจะซื้อดาวน์บ้านหรือรถเป็นของตนเอง ดิฉันก็ให้กู้ยึมเงินก่อน โดยไม่คิดดอกเบี้ย และสามารถให้ผ่อนชำระได้ตามความสามารถ แต่ในกรณีนี้ เธอเป็นลูกจ้างที่ปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ แต่ดิฉันก็ยังให้โอกาสให้กลับเข้ามาทำงานอีก และเธอก็ยังทำผิดอีก แต่กฎหมายกลับมองว่านายจ้างรวย นายจ้างผิดที่ไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง ทำไมไม่คิดอีกแง่หนึ่งว่า ถ้าลูกจ้างคนนี้เธอไปปฎิบัติกับนายจ้างคนอื่นเช่นนี้ ไปเรื่อย ๆ คือไปทำงานที่นั้นสัก 2 เดือนแล้วลาออก แล้วฟ้องประกันสังคม ทำงานที่นี้อีก 2 เดือน แล้วไปฟ้องประกันสังคม หรือแรงงานจังหวัด นายจ้างทุกคนยังต้องทนอีกหรือไม่ ในเมื่อนายจ้างเองก็มีภาระหนักว่าลูกจ้าง ต้องจ่ายค่าเช่า ภาษี อุปกรณ์ เงินเดือน ฯลฯ ดิฉันอยากถามว่า ในกรณีอย่างนี้ นายจ้างมีสิทธิที่จะทำอะไรกับลูกจ้างที่มีพฤติกรรมเช่นนี้บ้าง สามารถนำสัญญาเดิมไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกก่อนทำงานไม่ครบตามสัญญา และถ้าดิฉันไม่จ่ายค่าจ้าง 12 วัน ตามที่ลูกจ้างไปฟ้องประกันสังคมและแรงงานจังหวัด ดิฉันจะมีความผิดต้องรับโทษอย่างไรบ้าง ที่จริงการจ่ายเงินค่าจ้างให้เธอไป ก็ไม่ได้หนักหนาอะไร แต่ดิฉันไม่ต้องการให้กฎหมายเข้าข้างลูกจ้างที่เอาเปรียบนายจ้าง และไม่ต้องการให้เธอไปทำอย่างนี้กับนายจ้างคนอื่นอีกต่อไปค่ะ ช่วยไขปัญหาให้ดิฉันด่วนได้ไหมค่ะ เพราะตอนนี้ดิฉันรู้สึกว่า ทำไมดิฉันต้องการทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามฏกหมายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายภาษีบุคคลธรรมดา,ภาษีป้าย,หรือการทำประกันสังคมให้พนักงาน แต่กลับกลายเป็นว่า เป็นที่ทำให้ดิฉันเดือดร้อนมากๆ จนอยากจะปิดร้านไม่อยากจะทำอะไรอีกเลย |
GRACE & GAL , 2010-07-16 10:57:05 |
มีข้อความเพิ่มเติมค่ะ ลูกจ้างคนนี้มาทำงานครั้งแรกได้ประมาณ 8 เดือน ก็ทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน และลาออกไปเอง แต่ดิฉันก็ไม่ได้คิดจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย เพราะคิดว่าถ้าลูกจ้างที่มีพฤติกรรมที่ไม่ดีลาออกไปเอง ก็ดีสำหรับเราแล้ว แต่ไม่คิดว่าเมื่อเราให้โอกาสเธอเพราะสงสารที่ไม่มีงานทำงาน เธอจะมีพฤติกรรมเดิม ๆ อีก และกลับมาทำให้ดิฉันปวดหัวมาก กลับมาครั้งหลังนี้ เธอยังไม่ผ่านการทดลองงานเลยค่ะ เพราะเธอทำงานได้แค่ 1 เดือนกับ 12 วันเท่านั้นค่ะ รวมแล้วทั้งสองครั้ง เธอยังทำงานไม่ครบสัญญา 2 ปี เลยค่ะ |
อริยา , 2010-10-16 12:18:46 |
"เมื่อเงื่อนไขการทดลองงานเป็นเหตุให้สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเปลี่ยนเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเสียแล้ว วันสิ้นสุดสัญญาที่เคยกำหนดไว้แต่เดิมย่อมถือเสมือนหนึ่งไม่เคยมีมาก่อน เมื่อไม่มีวันสิ้นสุดสัญญา นายจ้างย่อมเลิกจ้างวันใดก็ได้ การที่นายจ้างเลิกจ้างเนื่องจากไม่ผ่านทดลองงาน แม้จะก่อนวันสิ้นสุดสัญญาตามที่กำหนดไว้ก็ตาม ก็มิใช่การผิดสัญญา ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ เมื่อเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างมีสิทธิจะเลิกจ้างเมื่อใดก็ได้ก็จริงอยู่ แต่หากจะเลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบตามที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้น ลูกจ้างมีสิทธิเรียกให้นายจ้างชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ นี่ก็ตามที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นกัน"
สำหรับในกรณีที่คุณไม่ได้ทำสัญญาจ้างก็จริง แต่พฤติกรรมที่คุณจ้างมีการจ่ายเงินเดือน นอกจากนี้มีประกันสังคม หลักฐานเหล่านี้ผูกมัดคุณเป็นการจ้างงานโดยปริยาย หากอยู่ระหว่างทดลองงานสามเดือนและเขาออกไปเอง คุณไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแต่อย่างใด แต่หากกรณีที่คุณไล่เขาออกกรณีนั้นคุณต้องจ่ายค่าชดเชยอะไรไปถ้าเขาไม่ได้ทำผิดกฎระเบียบ คุณทำได้คือถ้าเขายังอยู่ก็บอกกล่าวเป็นหนังสือ มีเหตุผลที่เหมาะสม อ้างอิงมา "ประเมินผลการทดลองงานเมื่อใด? คนงานทั่วๆไป 60-70 วัน ประเมินเลย และควรแจ้งในวันที่ 80-85 อย่าปล่อยให้ เข้าใกล้วันที่ 90 มิฉะนั้นเมื่อรวมระยะเวลาการกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แล้วมันจะเลย 120 วัน จะต้องจ่ายค่าชดเชย และหากบอกกล่าวล่วงหน้าไม่เป็น ก็อาจจะโดนค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเพิ่มอีกส่วนพนักงาน ที่ทดลองงานมากกว่า 119 วัน ก็ระวังอย่าให้เลย 1 ปีก็แล้วกันเพราะการจ่ายค่าชดเชยจะมากขึ้นโดยไม่จำเป็น 6. จะทดสอบอย่างไรว่าเหมาะหรือไม่เหมาะ? ต้องทำแบบฟอร์มการประเมินผลการทดลองงาน โดยมีการกำหนดเกณฑ์ มาตรฐานที่จะผ่านการทดลองงานว่าต้องอยู่ในระดับไหน นายจ้างจะเขียนเองก็เขียนให้ดีๆ นะครับและต้องประเมิน ทุกๆคน หากเขาไม่ผ่านการทดลองงาน เวลาขึ้นศาลแรงงานจะได้มีหลักฐานครบถ้วน แจกแจงได้ชัดเจนว่า สาเหตทีุ่ ไม่รับเป็นพนักงานเพราะเหตุใด 7. ประเมินผลการทดลองงานเมื่อใด? คนงานทั่วๆไป 60-70 วัน ประเมินเลย และควรแจ้งในวันที่ 80-85 อย่าปล่อยให้ เข้าใกล้วันที่ 90 มิฉะนั้นเมื่อรวมระยะเวลาการกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แล้วมันจะเลย 120 วัน จะต้องจ่ายค่าชดเชย และหากบอกกล่าวล่วงหน้าไม่เป็น ก็อาจจะโดนค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเพิ่มอีกส่วนพนักงาน ที่ทดลองงานมากกว่า 119 วัน ก็ระวังอย่าให้เลย 1 ปีก็แล้วกันเพราะการจ่ายค่าชดเชยจะมากขึ้นโดยไม่จำเป็น 8. ต้องแจ้งลูกจ้างหรือไม่ ?ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบ ควรทำเป็นหนังสือแจ้งการเลิกหรือยุติการทดลองงาน ระบุวัน เดือน ปีที่ให้มีผลอย่างชัดเจนและให้ลูกจ้างเซ็นรับทราบ หากลูกจ้างไม่ยอมเซ็น ก็ให้พยานมาลงชื่อรับทราบ 2 คน จากนั้น จึงถ่ายสำเนาปิดประกาศที่บอร์ดหรือปิดในโรงงาน ให้พนักงานรักษาความปลอดภัยคุมตัวออกไปส่งนอกโรงงานหรือบริษัท (วิธีปฏิบัติ ร.ป.ภ. ควรมารอตั้งแต่ที่รับทราบคำสั่งแล้ว) ไม่ควรให้ลูกจ้างอยู่ในบริษัทหรือโรงงานโดยเด็ดขาด อยากมา ให้มาในภายหลัง 9. เหตุผลในการเลิกจ้าง 11. เรื่องอื่นๆ นายจ้างที่มีระยะเวลาการจ่ายค่าจ้างทุกๆ 7 วัน 10 วัน หรือ 15วัน น่าจะได้ประโยชน์จากการบอกกล่าว ล่วงหน้ามากกว่าการจ่ายค่าจ้างทุกๆวันสิ้นเดือน ถ้าถามว่าเอามาจากไหน คำตอบก็คือเมื่อกฏหมายไม่กำหนดไว้ ย่อมไม่มีสิทธิ์ตามกฏหมายนั่นเอง แต่อาจมีสิทธิถ้านายจ้างกับลูกจ้างได้ทำข้อตกลงไว้โดยไม่ขัดต่อกฏหมายก็สามารถบังคับได้"
|
ครูคนหนึ่ง , 2010-10-21 12:10:34 |
สวัสดีค่ะคุณทนาย ดิฉันกำลังจะถูกเลิกจ้างจากโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งเขาเรียกดิฉันไปพบวันนี้ และให้ทำงานถึงสิ้นเดือน ตค.นี้ค่ะโดยเขาให้เหตุผลว่าสถานภาพการเงินไม่คล่องไม่มีเงินจ้างต่อดิฉันทำงานได้ 5เดือนแล้วและดิฉันกำลังตั้งครรภ์ได้ 3 เดือนดิฉันสามารถเรียกร้องสิทธิ์อะไรได้บ้างค่ะ แต่เค้าไม่ได้ให้เอกสารหรือสัญญาใดๆตอนเข้าทำงานนะค่ะ บางคนก็บอกว่าเข้ากรณีการให้ออกงานดดยไม่เป็นธรรมต้องจ่ายค่าชดเชย ขอให้คุณทนายช่วยไขข้อข้องใจหน่อยค่ะ |
nook , 2011-02-22 03:29:44 |
ขอถามทนายหน่อยค่ะว่าถ้าเราทำสันยาจ้างทำของเราเขียนทุกอย่งแล้วแต่ว่าเวลาเร่าเขียนผิดเราก็ขีดข้า และจำนวนเงิเราเขียนว่า456892แต่เราเขียนตัวหนังสือว่า298654สันยานี้ยังไช้ได้ไหมค่ะ |
สาวิตตรี ผาสุข , 2011-07-06 05:02:16 |
สวัสดีค่ะคุณทนาย น้องชายดิฉันได้กระทำความผิดต่อชีวิติค่ะ ซึ่งเรื่องคร่าวๆมีดังนี้ค่ะ เหตูการวันนั้นซึ่งแม่และน้องสาวได้ไปตกลงทำการเลิกลากับผู้ตาย แต่มีการถกเถียง และ มีการลงไม้ลงมือกัน ซึ้งผู้ตายได้ตบ ตี กระทืบ และความรุนแรงต่างๆและยังจะใช้มีดพับมาทำร้าย ซึ้งขณะที่แม่และน้องสาวได้กำลังเดินทางไปบ้านผู้ตาย น้องชายได้เห็นพอดี จึงได้ขี่รถจักยานยน์ตามไปจนกระทั้งถึงที่เกิดเหตุ คือบ้านผู้ตาย น้องชายของดิฉันได้เจอเหตุการที่มารดาและพี่สาวตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิต ซึ้งน้องชายของดิฉัน ได้พบเห็นแม่ของตัวเองกำลังถูกทำร้าย จึงใช้อาวุธปืนยิง ในขณะที่กำลังวิ่งเขาไป ผู้ตายได้เงอยหน้าขึ้นมา จึงทำให้ผู้ตายตกใจ จึงวิ่งเข้าบ้านแต่ผู้ตายคงคิดว่าน้องชายคงวิ่งตามไปจึงวิ่งย้อนออกมาหน้าบ้าน จึงมาเจอน้องชาย ผู้ตายจึงจะวิ่งไปทางหลังบ้าน น้องชายโมโหที่กระทำกับมารดาตัวเองขนาดนั้น จึงยิงจนเสียชีวิต เป็นเวลาผ่านไป 1ปี ศาลตัดสิน 25ปี ซึ่งน้องชายของดิฉันได้รับสารภาพและอายุเพียง 18ปี ดิฉันคิดว่าศาลตัดสินแรงเกินไปและยังตัดสินว่าไตร่เตีรยมมาก่อน ดิฉันคิดว่าไม่ยุติทำ คุณทนายช่วยอธิบายและให้คำแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ |
โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษา, วิจัยกฎหมายและแนะนำผลงานของผู้เขียนข้อมูลหรือบทความนั้นๆ เพื่อให้เกิด
ความเข้าใจในกฎหมาย และมุ่งประโยชน์ ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยมิได้กระทำเพื่อหากำไรในทางการค้าแต่อย่างใดทั้งสิ้น