จดทะเบียนข้อบังคับบริษัท

ชัชพงษ์ , 2011-05-06 02:34:10 toptotto@hotmail.com
อยากทราบว่า จะจดทะเบียนข้อบังคับบริษัท โดยให้มีการประชุมกรรมการ ด้วยวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ได้หรือไม่

ถ้าไม่ได้ ช่วยแนะนำวิธีแก้ปัญหาให้ด้วยครับ


 

นิติธนกิจ , 2011-05-08 09:03:47

จากคำถาม ทางสำนักงานขอแนะนำว่า หากกรรมการไม่สะดวกมาประชุม แนะนำให้มอบฉันทะให้คนอื่นมาประชุมแทนได้ครับ


 

วัสพล , 2011-05-08 10:00:03

แต่มีคำพิพาษาฎีกาที่ 3362/2532 ว่า กรรมการจะมอบฉันทะ ไม่ได้แล้วนะครับ


 

นิติธนกิจ , 2011-05-19 12:24:25

เรียน คุณวัสพล    
      ตามคำพิพาษาฎีกาที่ 3362/2532 นั้น เป็นคนละประเด็นกับคำถามที่ถามตอนแรกนะครับ จากคำพิพากษาดังกล่าวเป็นการที่ ข้อบังคับบริษัทกำหนดให้กรรมการที่จะมีอำนาจทำแทนบริษัทได้นั้นต้องลงลายมือชื่อร่วมกัน 2 คนและประทับตราบริษัท  แต่ตามฏีกาดังกล่าวกรรมการคนเดียวมอบอำนาจให้กรรมการอีกคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจทำแทนบริษัท ซึ่งไม่สามารถทำได้เพระไม่มีอำนาจตามกฎหมาย 
     แต่จากปัญหาข้างต้นเป็นเรื่องที่กรรมการมอบฉันทะให้คนอื่นเข้าประชุมแทน ซึ่งสามารถทำได้   มิใช่เป็นการที่กรรมการมอบอำนาจให้ทำแทนบริษัทแต่อย่างใด

                            ทีมงานกฎหมายนิติธนกิจ
 

ดนัย , 2011-07-07 09:27:24

แล้วประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องการจดทะเบียนข้อบังคับบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกาศวันที่ 10 กันยายน 2551 ล่ะครับ


 

ดนัย , 2011-07-07 09:30:14

http://www.dbd.go.th/mainsite/fileadmin/contents/law/law01_business/file/Pragardkom_Jodtabeankorbungkub.pdf
 

นิติธนกิจ , 2011-07-07 12:37:17

เรียน  คุณดนัย

          ประกาศของกรมพัมนาธุรกิจการค้าที่ท่านอ้างนั้นเป็นเพียงกรณีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าขอความร่วมมือบริษัทจำกัดมิให้จดะทะเบียนโดยกำหนดข้อบังคับของบริษัทให้กรรมการสามารถมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าประชุมแทนและให้นับเป็นองค์ประชุม รวมทั้งออกเสียงลงคะแนนในการประชุมคณะกรรมการบริษัทได้เท่านั้น  มิใช่กรณีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศห้ามมิให้กรรมการบริษัทมอบฉันทะให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนในกรณีต่าง ๆ ที่อยู่อำนาจของกรรมการ   ประกาศดังกล่าวจึงเป็นคนละกรณีกับการที่กรรมการบริษัทมอบฉันทะให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนครับ   


 

ดนัย , 2011-07-11 03:24:38

หลังจากที่มีประกาศออกมาแล้ว ทางสำนักงานเคยทำการมอบฉันทะให้กรรมการบริษัทไหนมั้ยอะครับ แล้วทางทะเบียนยอมหรอครับ
 

สำเนียง , 2012-09-25 05:04:52

 อยากเรียนถามว่า ข้อบังคับของบริษัท หรือ Articles of Association  นั้น ทางบริษัทจะต้องนำไปจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยหรือไม่ หรือว่า บริษัทสามารถจัดทำข้อบังคับของบริษัทขึ้นมาแล้วสามารถใช้ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจดทะเบียน
 

วัชระ , 2013-01-08 01:59:04

 จะจดทะเบียนจัดตั้งบริษํัทเพิ่ม
เช่น บริษัท A เป็นบริษัทย่อย (ของบริษัทมหาชน)   จะไำปร่วมหุ้นจัดตั้งบริษัทใหม่
บริษัท A ต้องทำรายงานการประชุมหรือไม่   และบริษัทมหาชน ต้องทำรายงานตลาดหลักทรัพย์หรือไม่
 

แอน , 2013-04-02 01:21:49

หายไปเลยอ่ะ ไม่ตอบ


 

ณวัสน์ , 2016-05-04 11:07:17


                      ๑. บริษัทจำกัดไม่สามารถกำหนดข้อบังคับบริษัทให้กรรมการสามารถมอบฉันทะให้บุคคล อื่นเข้าประชุมแทนและให้นับเป็นองค์ประชุม รวมทั้งออกเสียงลงคะแนนในการประชุมคณะกรรมการบริษัท
เนื่องจาก แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายเอกชนจะมีหลักการพื้นฐานในการ ยึดถือการแสดงเจตนาของคู่สัญญาเป็นสำคัญก็ตามแต่การแสดงเจตนานั้นก็จำ ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายด้วย ดังนั้น แม้ตามมาตรา ๑๑๕๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะบัญญัติให้บริษัทจำกัดสามารถกำหนดข้อ บังคับแตกต่างจากบทบัญญัติของมาตรา ๑๑๕๙ ถึงมาตรา ๑๑๖๔ ได้ก็ตาม แต่บริษัทก็จะต้องกำหนดข้อบังคับขึ้นภายใต้กรอบของกฎหมายกล่าวคือ บริษัทไม่สามารถออกข้อบังคับที่มีวัตถุประสงค์ขัดกับกฎหมายหรือขัดต่อความ สงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนได้ ทั้งนี้การกำหนดข้อบังคับในลักษณะดังกล่าวจะส่งผลให้มีการหลีกเลี่ยงไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดในเรื่องอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของ กรรมการ สำหรับเรื่องคุณสมบัติของกรรมการก็เช่นกันเมื่อพิจารณาบทกฎหมายที่บัญญัติ ไว้เกี่ยวกับความรับผิดของกรรมการในทางแพ่งและอาญา รวมทั้งองค์ประชุมของกรรมการแล้วถือได้ว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัว ดังนั้นบริษัทจึงไม่สามารถกำหนดข้อบังคับในลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้
            
                      ๒. บริษัทจำกัดไม่สามารถกำหนดข้อบังคับบริษัทให้มติคณะกรรมการสามารถทำเป็นมติ เวียนโดยไม่ต้องจัดประชุมคณะกรรมการบริษัท
เนื่องจาก ตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๑๖๐ มาตรา ๑๑๖๑ มาตรา ๑๑๖๒ และมาตรา ๑๑๖๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดวิธีการประชุมกรรมการไว้แล้ว เพื่อให้กรรมการแต่ละคนได้มาประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับ การดำเนินกิจการของบริษัทก่อนการลงมติในเรื่องใดๆ แม้ว่าตามมาตรา ๑๑๕๘ จะกำหนดให้บริษัทสามารถกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับอำนาจกรรมการเป็นอย่างอื่น ได้แต่ก็มิได้หมายความว่าจะสามารถกำหนดข้อบังคับให้ไม่ต้องมีการประชุม กรรมการได้ เนื่องจากการกำหนดข้อบังคับในลักษณะดังกล่าวเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม บทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรา ๑๑๖๐ มาตรา ๑๑๖๑ มาตรา ๑๑๖๒ และมาตรา ๑๑๖๓
     
                     ๓. ในกรณีที่บริษัทจำกัดได้จดทะเบียนข้อบังคับในลักษณะดังกล่าวข้างต้นตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ไว้แล้ว แม้จะมิได้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนข้อบังคับดังกล่าว บริษัทก็ไม่สามารถถือปฏิบัติตามข้อบังคับนั้นได้อีกต่อไป
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงขอประกาศให้ทราบทั่วกัน และขอความร่วมมือให้บริษัทจำกัดซึ่งได้จดทะเบียนข้อบังคับที่มีลักษณะตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับของบริษัทต่อไปด้วย

มันมีเนื่้อหาส่วนไหน แสดงถึงการขอความร่วมมือครับ เขา ห้ามใช้เลยต่างหาก ไอขอความร่วมมือคือขอความร่วมมือไห้มาจดทะเบียนแก้ใขข้อบังคับไห้ถูกต้องตามประกาศด้วย   อ่านอีกรอีกรอบนะ ท่าน


 

ณวัสน์ , 2016-05-04 11:10:52

ข้อ1.
บริษัท จำกัดไม่สามารถกำหนดข้อบังคับบริษัทให้กรรมการสามารถมอบฉันทะให้บุคคล อื่นเข้าประชุมแทนและให้นับเป็นองค์ประชุม รวมทั้งออกเสียงลงคะแนนในการประชุมคณะกรรมการบริษัท
ข้อ2.
บริษัทจำกัดไม่สามารถกำหนดข้อบังคับบริษัทให้มติคณะกรรมการสามารถทำเป็นมติ เวียนโดยไม่ต้องจัดประชุมคณะกรรมการบริษัท

ข้อ3.

ในกรณีที่บริษัทจำกัดได้จดทะเบียนข้อบังคับในลักษณะดังกล่าวข้างต้นตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ไว้แล้ว แม้จะมิได้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนข้อบังคับดังกล่าว บริษัทก็ไม่สามารถถือปฏิบัติตามข้อบังคับนั้นได้อีกต่อไป

ข้อสุดท้ายเน้นเลยว่ามิสามารุบังคับใช้ได้  แม้จะได้จดทะเบียนไปแล้ว

มันห้ามใช้ไปแล้วคับคุณทนาย  รบกวนแก้ไขข้อมูลที่ว่าไปผิดข้างต้นด้วยคับ

มัน มีเนื่้อหาส่วนไหน แสดงถึงการขอความร่วมมือครับ เขา ห้ามใช้เลยต่างหาก ไอขอความร่วมมือคือขอความร่วมมือไห้มาจดทะเบียนแก้ใขข้อบังคับไห้ถูกต้องตาม ประกาศด้วย   อ่านอีกรอีกรอบนะ ท่าน

 

ดาว , 2017-02-01 05:37:25

 กรณี บริษัท มีข้อกำหนดให้กรรมการ พ้นตำแหน่งคราวละ 3 ปี ได้หรือไม่ค่ะ

รายละเีอียด:
ชื่อ:
หมายเหตุ: ข้อมูลหรือบทความที่ปรากฏในเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้น
โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษา, วิจัยกฎหมายและแนะนำผลงานของผู้เขียนข้อมูลหรือบทความนั้นๆ เพื่อให้เกิด
ความเข้าใจในกฎหมาย และมุ่งประโยชน์ ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยมิได้กระทำเพื่อหากำไรในทางการค้าแต่อย่างใดทั้งสิ้น